อยู่ในระหว่างปรับปรุง

WELCOME TO APK KITCHEN THAIFOOD YANGON MYANMAR

Myanmar Tourist Attraction

ธงประเทศสหภาพพม่่า
ดินแดนทองคำประเทศพม่า
ข้อมูลทั่วไปประเทศพม่า
สหภาพพม่า(Union of Myanmar)เป็นประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่มีลักษณะพิเศษคือ เป็นเพียงประเทศเดียวในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่มีพรมแดนทางแผ่นดินติดต่อกับสองประเทศ ซึ่งเป็นแหล่งอารยธรรมที่ยิ่งใหญ่ของโลก ได้แก่ จีน และอินเดีย แต่เดิมชาวตะวันตกเรียกประเทศนี้ว่า Burma จนกระทั่งเมื่อปี พ.ศ. 2532 พม่าได้เปลี่ยนชื่อประเทศเป็น Myanmar ชื่อใหม่นี้เป็นที่ยอมรับจากองค์การสหประชาชาติ แต่บางชาติ เช่น สหรัฐอเมริกา และสหราชอาณาจักร ไม่ยอมรับการเปลี่ยนชื่อนี้ เนื่องจากไม่ยอมรับรัฐบาลทหารที่เป็นผู้เปลี่ยนชื่อ ปัจจุบันหลายคนใช้คำว่า Myanmarซึ่งมาจากชื่อประเทศในภาษาพม่าว่าMyanma Naingngandawไม่ว่าจะมีความเห็นเกี่ยวกับรัฐบาลทหารอย่างไรก็ตามคำว่าเมียนมาร์เป็นการทับศัพท์มาจากภาษาอังกฤษว่า Myanmar แต่ความจริงแล้ว ชาวพม่าเรียกชื่อประเทศตนเองว่า มยะหม่า
ประวัติศาสตร์ประเทศพม่า
ประวัติศาสตร์ของพม่านั้นมีความยาวนานและซับซ้อน มีประชาชนหลายเผ่าพันธุ์เคยอาศัยอยู่ในดินแดนแห่งนี้ เผ่าพันธุ์เก่าแก่ที่สุดที่ปรากฏได้แก่มอญ ต่อมาราวพุทธศตวรรษที่ 13 ชาวพม่าได้อพยพลงมาจากบริเวณพรมแดนระหว่างจีนและทิเบต เข้าสู่ที่ราบลุ่มแม่น้ำอิรวดี และได้กลายเป็นชนเผ่าส่วนใหญ่ที่ปกครองประเทศในเวลาต่อมา ความซับซ้อนของประวัติศาสตร์พม่ามิได้เกิดขึ้นจากกลุ่มชนที่อาศัยอยู่ในดินแดนพม่าเท่านั้น แต่เกิดจากความสัมพันธ์กับเพื่อนบ้านอันได้แก่ จีน อินเดีย บังกลาเทศ ลาว และไทยอีกด้วย
ฮินตา สัญลักษณ์ของชาวมอญ
ประวัติศาสตร์พม่าแบ่งออกเป็น 7 ยุค ดังนี้ัี้
ยุคมอญ
มนุษย์ได้เข้ามาอาศัยอยู่ในดินแดนของประเทศพม่าราว 11,000 ปีมาแล้ว แต่ชนเผ่าแรกที่สามารถสร้างอารยธรรมขึ้นเป็นเอกลักษณ์ของตนได้ก็คือชาวมอญ ชาวมอญได้อพยพเข้ามาอาศัยอยู่ในดินแดนแห่งนี้เมื่อราว2,400ปีก่อนพุทธกาล และได้สถาปนาอาณาจักรสุวรรณภูมิ อันเป็นอาณาจักรแห่งแรกขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 2 ณ บริเวณใกล้เมืองท่าตอน (Thaton) ชาวมอญได้รับอิทธิพลของศาสนาพุทธผ่านทางอินเดียในราวพุทธศตวรรษที่ 2ซึ่งเชื่อว่ามาจากการเผยแพร่พระพุทธศาสนาในรัชสมัยของพระเจ้าอโศกมหาราช บันทึกของชาวมอญส่วนใหญ่ถูกทำลายในระหว่างสงคราม วัฒนธรรมของชาวมอญเกิดขึ้นจากการผสมเอาวัฒนธรรมจากอินเดียเข้ากับวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ของตนเองจนกลายเป็นวัฒนธรรมลักษณะลูกผสมในราวพุทธศตวรรษที่ 14ชาวมอญได้เข้าครอบครองและมีอิทธิพลในดินแดนตอนใต้ของพม่า่
เจดีย์พยาจีศิลปะยุคราชธานีศรีเกษตร
ยุคชาวพยู
ชาวปยูหรือพยูเข้ามาอาศัยอยู่ในดินแดนประเทศพม่าตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 4 และได้สถาปนานครรัฐขึ้นหลายแห่ง เช่นที่ พินนาคา (Binnaka)มองกะโม้ (Mongamo) ศรีเกษตร (Sri Ksetra) เปียทะโนมโย (Peikthanomyo) และหะลินยี (Halingyi) ในช่วงเวลาดังกล่าวดินแดนพม่าเป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางการค้าระหว่างจีนและอินเดีย จากเอกสารของจีนพบว่า มีเมืองอยู่ภายใต้อำนาจปกครองของชาวพยู 18 เมือง และชาวพยูเป็นชนเผ่าที่รักสงบ ไม่ปรากฏว่ามีสงครามเกิดขึ้นระหว่างชนเผ่าพยู ข้อขัดแย้งมักยุติด้วยการคัดเลือกตัวแทนให้เข้าประลองความสามารถกัน ชาวพยูสวมใส่เครื่องแต่งกายที่ทำจากฝ้าย อาชญากรมักถูกลงโทษด้วยการโบยหรือจำขัง เว้นแต่ได้กระทำความผิดอันร้ายแรงจึงต้องโทษประหารชีวิต ชาวพยูนับถือพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท เด็ก ๆ ได้รับการศึกษาที่วัดตั้งแต่อายุ 7 ขวบจนถึง 20 ปี นครรัฐของชาวพยูไม่เคยรวมตัวเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน แต่นครรัฐขนาดใหญ่มักมีอิทธิพลเหนือนครรัฐขนาดเล็กซึ่งแสดงออกโดยการส่งเครื่องบรรณาการให้ นครรัฐที่มีอิทธิพลมากที่สุดได้แก่ศรีเกษตร
ซึ่งมีหลักฐานเชื่อได้ว่า เป็นเมืองโบราณที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศพม่า ไม่ปรากฏหลักฐานว่าอาณาจักรศรีเกษตรถูกสถาปนาขึ้นเมื่อใด แต่มีการกล่าวถึงในพงศาวดารว่ามีการเปลี่ยนราชวงศ์เกิดขึ้นในปีพุทธศักราช 637 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าอาณาจักรศรีเกษตรต้องได้รับการสถาปนาขึ้นก่อนหน้านั้น มีความชัดเจนว่า อาณาจักรศรีเกษตรถูกละทิ้งไปในปีพุทธศักราช 1199 เพื่ออพยพย้ายขึ้นไปสถาปนาเมืองหลวงใหม่ทางตอนเหนือ แต่ยังไม่ทราบอย่างแน่ชัดว่าเมืองดังกล่าวคือเมืองใด นักประวัติศาสตร์บางท่านเชื่อว่าเมืองดังกล่าวคือเมืองหะลินคยี อย่างไรก็ตามเมืองดังกล่าวถูกรุกรานจากอาณาจักรน่านเจ้าในราวพุทธศตวรรษที่ 15 จากนั้นก็ไม่ปรากฏหลักฐานกล่าวถึงชาวพยูอีก
เจดีย์ชเวซิกองศิลปะอาณาจักรพุกาม
ยุคอาณาจักรพุกาม
ชาวพม่าเป็นชนเผ่าจากทางตอนเหนือที่ค่อย ๆ อพยพแทรกซึมเข้ามาสั่งสมอิทธิพลในดินแดนประเทศพม่าทีละน้อย กระทั่งปีพุทธศักราช 1392 จึงมีหลักฐานถึงอาณาจักรอันทรงอำนาจซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่เมือง "พุกาม" (Pagan) โดยได้เข้ามาแทนที่ภาวะสุญญากาศทางอำนาจภายหลังจากการเสื่อมสลายไปของอาณาจักรชาวพยู อาณาจักรของชาวพุกามแต่แรกนั้นมิได้เติบโตขึ้นอย่างเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกระทั่งในรัชสมัยของพระเจ้าอโนรธา(พ.ศ.1587–1620) พระองค์จึงสามารถรวบรวมแผ่นดินพม่าให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันสำเร็จ และเมื่อพระองค์ทรงตีเมืองท่าตอนของชาวมอญได้ในปีพุทธศักราช1600 อาณาจักรพุกามก็กลายเป็นอาณาจักรที่เข้มแข็งที่สุดในดินแดนพม่า อาณาจักรพุกามมีความเข้มแข็งเพิ่มมากขึ้นในรัชสมัยของพระเจ้าจานสิตา(พ.ศ.1624–1655)และพระเจ้าอลองสิธู(พ.ศ.1655–1710) ทำให้ในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 17ดินแดนในคาบสมุทรสุวรรณภูมิเกือบทั้งหมดถูกครอบครองโดยอาณาจักรเพียงสองแห่ง คือเขมรและพุกามอำนาจของอาณาจักรพุกามค่อยๆ เสื่อมลง
ด้วยเหตุผลหลักสองประการ ส่วนหนึ่งจากการถูกเข้าครอบงำโดยของคณะสงฆ์ผู้มีอำนาจ และอีกส่วนหนึ่งจากการรุกรานของจักรวรรดิมองโกลที่เข้ามาทางตอนเหนือ พระเจ้านรสีหบดี (ครองราชย์ พ.ศ. 1779–1830) ได้ทรงนำทัพสู่ยุนนานเพื่อยับยั้งการขยายอำนาจของมองโกล แต่เมื่อพระองค์แพ้สงครามที่งาสองกยัน (Ngasaunggyan) ในปีพุทธศักราช 1820 ทัพของอาณาจักรพุกามก็ระส่ำระสายเกือบทั้งหมด พระเจ้านรสีหบดีถูกพระราชโอรสปลงพระชนม์ในปีพุทธศักราช 1830 กลายเป็นตัวเร่งที่ทำให้อาณาจักรมองโกลตัดสินใจรุกรานอาณาจักรพุกามในปีเดียวกันนั้น ภายหลังสงครามครั้งนี้ อาณาจักรมองโกลก็สามารถเข้าครอบครองดินแดนของอาณาจักรพุกามได้ทั้งหมด ราชวงศ์พุกามสิ้นสุดลงเมื่อมองโกลได้แต่งตั้งรัฐบาลหุ่นขึ้นบริหารดินแดนพม่าในปีพุทธศักราช 1832
เจดีย์ไจ้ปุ่นสร้างในสมัยกษัตริย์ธรรมเซดีแห่งหงสาวดี
ยุคอังวะและหงสาวดี
หลังจากการล่มสลายของอาณาจักรพุกามพม่าได้แตกแยกออกจากกันอีกครั้งราชวงศ์อังวะซึ่งได้รับอิทธิพล ทางวัฒนธรรมจากอาณาจักรพุกามได้ถูกสถาปนาขึ้นที่เมืองอังวะในปีพุทธศักราช 1907 ศิลปะและวรรณกรรมของพุกามได้ถูกฟื้นฟูจนยุคนี้กลายเป็นยุคทองแห่งวรรณกรรมของพม่า แต่เนื่องด้วยอาณาเขตที่ยากต่อการป้องกันการรุกรานจากศัตรู เมืองอังวะจึงถูกชาวไทใหญ่เข้าครอบครองได้ในปีพุทธศักราช 2070 สำหรับดินแดนทางใต้ ชาวมอญได้สถาปนาอาณาจักรของพวกตนขึ้นใหม่อีกครั้งที่หงสาวดี โดยกษัตริย์ธรรมเจดีย์ (ครองราชย์ พ.ศ. 1970 – 2035)เป็นจุดเริ่มต้นยุคทองของมอญ ซึ่งเป็นศูนย์กลางของพุทธศาสนานิกายเถรวาทและศูนย์กลางทางการค้าขนาดใหญ่ในเวลาต่อมา
สัญลักษณ์ราชวงศ์ตองอู
ยุคอาณาจักรตองอู
หลังจากถูกรุกรานจากไทใหญ่ ชาวอังวะได้อพยพลงมาสถาปนาอาณาจักรแห่งใหม่โดยมีศูนย์กลางที่เมืองตองอูในปีพุทธศักราช 2074 ภายใต้การนำของพระเจ้าตะเบงชะเวตี้ (ครองราชย์ พ.ศ. 2074–2093) ซึ่งสามารถรวบรวมพม่าเกือบทั้งหมดให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้อีกครั้ง ในช่วงระยะเวลานี้ ได้มีการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่เกิดขึ้นในภูมิภาค ชาวไทใหญ่มีกำลังเข้มแข็งเป็นอย่างมากทางตอนเหนือ การเมืองภายในอาณาจักรอยุธยาเกิดความไม่มั่นคง ในขณะที่โปรตุเกสได้เริ่มมีอิทธิพลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และสามารถเข้าครอบครองมะละกาได้ เกี่ยวกับการเข้ามาของบรรดาพ่อค้าชาวยุโรป พม่ากลายเป็นศูนย์กลางทางการค้าที่สำคัญอีกครั้งหนึ่ง การที่พระเจ้าตะเบงชะเวตี้ได้ย้ายเมืองหลวงมาอยู่ที่เมืองหงสาวดี เหตุผลส่วนหนึ่งก็เนื่องด้วยทำเลทางการค้า พระเจ้าบุเรงนอง (ครองราชย์ พ.ศ. 2094–2124)ซึ่งเป็นพระเทวัน(พี่เขย)ของพระเจ้าตะเบงชะเวตี้ ได้ขึ้นครองราชย์สืบต่อจากพระเจ้าตะเบงชะเวตี้
และสามารถเข้าครอบครองอาณาจักรต่าง ๆ รายรอบได้ อาทิ มณีปุระ (พ.ศ. 2103) อยุธยา (พ.ศ. 2112) ราชการสงครามของพระองค์ทำให้พม่ามีอาณาเขตกว้างใหญ่ไพศาลที่สุดอย่างไรก็ตาม ทั้งมณีปุระและอยุธยา ต่างก็สามารถประกาศตนเป็นอิสระได้ภายในเวลาต่อมาไม่นาน เมื่อต้องเผชิญกับการก่อกบฏจากเมืองขึ้นหลายแห่งประกอบกับการรุกรานของโปรตุเกส กษัตริย์แห่งราชวงศ์ตองอู จำเป็นต้องถอนตัวจากการครอบครองดินแดนทางตอนใต้ โดยย้ายเมืองหลวงไปอยู่ที่เมืองอังวะ พระเจ้าอะนอกะเพตลุน (Anaukpetlun) พระนัดดาของพระเจ้าบุเรงนอง สามารถรวบรวมแผ่นดินพม่าให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันอีกครั้งในพุทธศักราช 2156 พระองค์ตัดสินใจที่จะใช้กำลังเข้าต่อต้านการรุกรานของโปรตุเกส พระเจ้าธารุน (Thalun) ผู้สืบทอดราชบัลลังก์ ได้ฟื้นฟูหลักธรรมศาสตร์ของอาณาจักรพุกามเก่า แต่พระองค์ทรงใช้เวลากับเรื่องศาสนามากเกินไป จนละเลยที่จะใส่ใจต่ออาณาเขตทางตอนใต้ ท้ายที่สุด หงสาวดี ที่ได้รับการสนับสนุนจากฝรั่งเศสซึ่งตั้งมั่นอยู่ในอินเดีย ก็ได้ทำการประกาศเอกราชจากอังวะ จากนั้นอาณาจักรของชาวพม่าก็ค่อย ๆ อ่อนแอลงและล่มสลายไปในปีพุทธศักราช 2295 จากการรุกรานของชาวมอญ
รูปปั้นพระเจ้าอลองพญา
ยุคราชวงศ์อลองพญาู
ราชวงศ์อลองพญาได้รับการสถาปนาขึ้นและสร้างความเข้มแข็งจนถึงขีดสุดได้ภายในเวลาอันรวดเร็ว พระเจ้าอลองพญาซึ่งเป็นผู้นำที่ได้รับความนิยมจากชาวพม่า ได้ขับไล่ชาวมอญที่เข้ามาครอบครองดินแดนของชาวพม่าได้ในปี พ.ศ.2296จากนั้นก็สามารถเข้ายึดครองอาณาจักรมอญได้อีกครั้งในปี พ.ศ.2302 ทั้งยังสามารถกลับเข้ายึดครองกรุงมณีปุระได้ในช่วงเวลาเดียวกัน พระองค์สถาปนาให้เมืองย่างกุ้งเป็นเมืองหลวงในปี พ.ศ.2303หลังจากเข้ายึดครองตะนาวศรี (Tenasserim)พระองค์ได้ยาตราทัพเข้ารุกรานอยุธยาแต่ต้องประสบความล้มเหลวเมื่อพระองค์ทรงสวรรคตระหว่างการสู้รบ พระเจ้าเซงพะยูเชง (Hsinbyushin, ครองราชย์ พ.ศ. 2306 – 2319) พระราชโอรส ได้โปรดให้ส่งทัพเข้ารุกรานอาณาจักรอยุธยาอีกครั้งในปี พ.ศ.2309ซึ่งประสบความสำเร็จในปีถัดมา ในรัชสมัยนี้ แม้จีนจะพยายามขยายอำนาจเข้าสู่ดินแดนพม่า แต่พระองค์ก็สามารถยับยั้งการรุกรานของจีนได้ทั้งสี่ครั้ง (ในช่วงปี พ.ศ. 2309–2312) ทำให้ความพยายามในการขยายพรมแดนของจีนทางด้านนี้ต้องยุติลง
ในรัชสมัยของพระเจ้าโบดอพญา (Bodawpaya, ครองราชย์ พ.ศ. 2324–2362) พระโอรสอีกพระองค์หนึ่งของพระเจ้าอลองพญา พม่าต้องสูญเสียอำนาจที่มีเหนืออยุธยาไป แต่ก็สามารถผนวกดินแดนยะไข่ (Arakan) และตะนาวศรี (Tenasserim) เข้ามาไว้ได้ในปี พ.ศ. 2327 และ 2336 ตามลำดับ ในช่วงเดือนมกราคมของปี พ.ศ. 2366 ซึ่งอยู่ในรัชสมัยของพระเจ้าบาคยีดอว์ (Bagyidaw, ครองราชย์ พ.ศ. 2362–2380) ขุนนางชื่อมหาพันธุละ (Maha Bandula) นำทัพเข้ารุกรานแคว้นอัสสัมได้สำเร็จ ทำให้พม่าต้องเผชิญหน้าโดยตรงกับอังกฤษที่ครอบครองอินเดียอยู่ในขณะนั้น
เจดีย์ซูเลศูนย์กลางกรุงย่างกุ้ง
ยุคสงครามกับอังกฤษและการล่มสลายของราชอาณาจักรพม่า
สืบเนื่องจากการพยายามขยายอำนาจของอังกฤษ กองทัพอังกฤษโดยความร่วมมือของสยามได้เข้าทำสงครามกับพม่าในปี พ.ศ. 2367 สงครามระหว่างพม่าและอังกฤษครั้งที่หนึ่งนี้ (พ.ศ. 2367–2369) ยุติลงโดยอังกฤษเป็นฝ่ายได้รับชัยชนะ ฝ่ายพม่าจำต้องทำสนธิสัญญายันดาโบ (Yandaboo)กับอังกฤษ ทำให้พม่าต้องสูญเสียดินแดนอัสสัม มณีปุระ ยะข่าย และตะนาวศรีไป ซึ่งอังกฤษเริ่มก็ต้นตักตวงทรัพยากรต่าง ๆ ของพม่านับแต่นั้น เพื่อเป็นหลักประกันสำหรับวัตถุดิบที่จะป้อนสู่สิงคโปร์ สร้างความแค้นเคืองให้กับทางพม่าเป็นอย่างมากกษัตริย์องค์ต่อมาจึงทรงยกเลิกสนธิสัญญายันดาโบ และทำการโจมตีผลประโยชน์ของฝ่ายอังกฤษ ทั้งต่อบุคคลและเรือ เป็นต้นเหตุให้เกิดสงครามระหว่างพม่าและอังกฤษครั้งที่สอง ซึ่งก็จบลงโดยชัยชนะเป็นของอังกฤษอีกครั้ง หลังสิ้นสุดสงครามครั้งนี้ อังกฤษได้ผนวกหงสาวดีและพื้นที่ใกล้เคียงเข้าไว้กับตน โดยได้เรียกดินแดนดังกล่าวเสียใหม่ว่าพม่าตอนใต้ สงครามครั้งนี้ก่อให้เกิดการปฏิวัติครั้งใหญ่ในพม่า
เริ่มต้นด้วยการเข้ายึดอำนาจโดยพระเจ้ามินดง (Mindon Min) ครองราชย์ พ.ศ. 2396–2421) จากพระเจ้าปะกัน (Pagin Min, ครองราชย์ พ.ศ. 2389–2396) ซึ่งเป็นพระเชษฐาต่างพระชนนี พระเจ้ามินดงพยายามพัฒนาประเทศพม่าเพื่อต่อต้านการรุกรานของอังกฤษ พระองค์ได้สถาปนากรุงมัณฑะเลย์ ซึ่งยากต่อการรุกรานจากภายนอก ขึ้นเป็นเมืองหลวงแห่งใหม่ แต่ก็ยังไม่เพียงพอที่จะหยุดยั้งการรุกรานจากอังกฤษได้ รัชสมัยต่อมา พระเจ้าธีบอ (Thibow, ครองราชย์ พ.ศ. 2421–2428) ซึ่งเป็นพระโอรสของพระเจ้ามินดง ทรงมีบารมีไม่พอที่จะควบคุมพระราชอาณาจักรได้ จึงทำให้เกิดความวุ่นวายขึ้นไปทั่วในบริเวณชายแดน ในที่สุดพระองค์ได้ตัดสินพระทัยยกเลิกสนธิสัญญากับอังกฤษที่พระเจ้ามินดงได้ทรงกระทำไว้ และได้ประกาศสงครามกับอังกฤษเป็นครั้งที่สามในปีพุทธศักราช 2428 ผลของสงครามครั้งนี้ทำให้อังกฤษสามารถเข้าครอบครองดินแดนประเทศพม่าส่วนที่เหลือเอาไว้ได้
วัฒนธรรมและประชากรประเทศพม่า
ของพม่าได้รับอิทธิพลทั้งจากจีน อินเดีย และไทยมาช้านาน ดังสะท้อนให้เห็นในด้านภาษา ดนตรี และอาหาร สำหรับศิลปะของพม่านั้นได้รับอิทธิพลจากวรรณคดีและพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทมาตั้งแต่ครั้งโบราณ ในปัจจุบันนี้วัฒนธรรมพม่ายังได้รับอิทธิพลจากตะวันตกมากขึ้น ซึ่งเห็นได้ชัดจากเขตชนบทของประเทศ ด้านการแต่งกาย ชาวพม่าทั้งหญิงและชายนิยมนุ่งโสร่ง เรียกว่า ลองยี ส่วนการแต่งกายแบบโบราณเรียกว่า ลุนตยาอชิกจำนวนประชากรประมาณ 50.51 ล้านคน ความหนาแน่นโดยเฉลี่ย 61 คน/ตารางกิโลเมตร พม่ามีประชากรหลายเชื้อชาติ จึงเกิดเป็นปัญหาชนกลุ่มน้อย มีชาติพันธุ์พม่า 63% ไทยใหญ่ 16% มอญ 5% ยะไข่ 5% กะเหรี่ยง 3.5% คะฉิ่น 3% ไทย 3% ชิน 1%
สภาพภูมิอากาศประเทศพม่า
ช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับการเดินทางมาท่องเที่ยวมากที่สุดคือ
ช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์ อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ
21-28 องศาเซลเซียส
ภาษาพม่า
นอกจากภาษาพม่า ซึ่งเป็นภาษาราชการแล้ว พม่ามีภาษาหลักที่ใช้งานในประเทศถึงอีก 18 ภาษา[2] โดยแบ่งตามตระกูลภาษาได้ดังนี้ตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก ได้แก่ ภาษามอญ ภาษาปะหล่อง ภาษาปะลัง (ปลัง) ภาษาปะรวก และภาษาว้า
ตระกูลภาษาซิโน-ทิเบตัน ได้แก่ ภาษาพม่า (ภาษาราชการ) ภาษากะเหรี่ยง ภาษาอารากัน (ยะไข่) ภาษาจิงผ่อ (กะฉิ่น) และ ภาษาอาข่า ตระกูลภาษาไท-กะได ได้แก่ ภาษาไทใหญ่ (ฉาน) ภาษาไทลื้อ ภาษาไทขึน ภาษาไทคำตี่ มีผู้พูดหนาแน่นในรัฐฉาน และรัฐกะฉิ่น ส่วนภาษาไทยถิ่นใต้ ภาษาไทยกลาง และภาษาไทยถิ่นอีสาน มีผู้พูดในเขตตะนาวศรี
ตระกูลภาษาม้ง-เมี่ยน ได้แก่ ภาษาม้งและภาษาเย้า (เมี่ยน)
ตระกูลภาษาออสโตรนีเชียน ได้แก่ ภาษามอเกนและภาษามาเลย์ ในเขตตะนาวศรี
สกุลเงินพม่า
พม่ามีสกุลเงินอย่างเป็นทางการคือ เงินจ๊าด แต่บางครั้งมีการใช้เงิน FEC (Foreign Exchange Certificate) ที่เรียกกันว่า
เงินผูกขาดหรือเงินนักท่องเที่ยว มีค่าเทียบเท่ากับดอลล่าร์สหรัฐ 1 ดอลล่าร์สหรัฐสามารถแลกได้ประมาณ 6 จ๊าด
แนะนำเมืองท่องเที่ยวประเทศพม่า
จากเรื่องราวประวัติศาสตร์ของพม่าข้างต้น นั้นสะท้อนให้เห็นถึงอารยธรรมที่สะสมมาแต่เนิ่นนาน ผ่านมาถึง 7 ยุคสมัย ซึ่งกระจายอยู่ทั่วประเทศพม่า ตามเมืองเด่นๆดังนี้
ย่างกุ้งประเทศพม่า
ย่างกุ้ง (Yangon)
ที่ประดิษฐานเจดีย์ทองงามสง่า "ชเวดากอง" ภาพสะท้อนยุคอาณานิคมอังกฤษ
หงสาวดีประเทศพม่า
หงสาวดี(Bago)
เมืองเอกอู่ข้าวอู่น้ำพม่า อดีตเมืองท่าทางทะเล ภาพสะท้อนความรุ่งเรืองของอาณาจักรมอญ
ไจ้โถ่ประเทศพม่า
ไจ้โถ่(Kyaikhtiyo)
ถิ่นชาวมอญ ก้อนหินทองงามสง่า
พุกามประเทศพม่า
พุกาม(Bagan)
ดินแดนหมื่นเจดีย์
มัณฑะเลย์ประเทศพม่า
มัณฑะเลย์(Mandalay)
ราชธานีสุดท้าย ศูนย์กลางพระพุทธศาสนา ถิ่นมหาคัมภีร์ไตรปิฏก ตำนานพระยะไข่
กะลอ-รัฐฉานประเทศพม่า
กะลอ(Kalaw)
สวิตเซอร์แลนด์แห่งพม่า
อ้างอิง: วิกีพีเดียสารานุกรมเสรี, หน้าต่างสู่โลกกว้าง(พม่า) ทัวร์พม่า เที่ยวพม่า ประเทศพม่า
เจดีย์ซูเลในย่างกุ้ง
เจดีย์ซูเลในย่างกุ้ง
เจดีย์ซูเลในย่างกุ้ง

เจดีย์ซูเลมีอายุกว่า 2,000 ปีมาแล้ว ตั้งอยู่บริเวณใจกลางของกรุงย่างกุ้ง เมื่อประมาณ 200 ปีที่ผ่านมาพระเจดีย์ถูกล้อมรอบไปด้วยน้ำ เจดีย์มีชื่อมอญคือ Kyaik Athok หมายถึง 'พระวิหารอันเป็นที่ประดิษฐานของพระเกศาธาตุ' ซึ่งเชื่อกันว่าภายในมีเส้นพระเกศาของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประดิษฐานอยู่ที่นี่ ลักษณะโครงสร้างของเจดีย์มีความสูงมากกว่า 150 ฟุต แม้จะไม่อนุญาตให้เข้าเยี่ยมชมภายในเจดีย์แต่ด้วยสถาปัตยกรรมที่โดดเด่นก็ทำให้สถานที่แห่งนี้เป็นที่นิยมในกลุ่มผู้รักการถ่ายภาพ
สถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญ

พระบรมธาตุชเวดากอง ประเทศพม่า






พระบรมธาตุชเวดากอง(SHWEDAGON PAGODA)

พระ มหาเจดีย์ทองคำที่งดงามตั้ง เด่นเป็นสง่าอยู่ใจกลางเมืองย่างกุ้ง มีความสูงประมาณ 109 เมตร ประดิษฐานอยู่บนเนินดินที่ชื่อ “SINGUTTARA” ซึ่งมีลานรูปสี่เหลี่ยมและเป็นเนินที่สูงที่สุดในเขตปริมณฑลเมืองย่างกุ้งมี ความยาวโดยรอบ ประมาณ 473 เมตร รอบฐานพระมหาเจดีย์รายล้อมไปด้วยเจดีย์องค์เล็กๆ อีกร้อยองค์ มีซุ้มประตูสี่ด้านยอดฉัตรองค์พระมหาเจดีย์ประกอบด้วยเพชรและพลอยมากมาย นับเป็นงานสถาปัตยกรรมฝีมือช่างพม่าที่งดงามหาที่เปรียบมิได้ สันนิษฐานว่าเริ่มก่อสร้างขึ้นตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษแรกๆ เชื่อกันว่าภายในองค์พระมหาเจดีย์ได้บรรจุเส้นพระเกศาธาตุของพระพุทธเจ้า จำนวน 8 เส้น พระมหาเจดีย์นี้ยังคงฐานะของพุทธสถานอันเป็นที่พึ่งทางใจของคนพม่าในทุกชั้น วรรณะทุกเพศทุกวัย


พระเจดีย์โบตะตอง ประเทศพม่า






พระเจดีย์โบตะตอง
ซึ่งเป็นเจดีย์ที่สร้างขึ้นเพื่อรับพระเกศาธาตุก่อนที่นำไปบรรจุในพระเจดีย์ชเว ดากอง เมื่อพระเกศาธาตุได้ ถูกอัญเชิญขึ้นจากเรือ ได้นำมาประดิษฐานไว้ที่พระเจดีย์โบตะตองแห่งนี้ก่อน พระเจดีย์แห่งนี้ได้ถูก ทำลายในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 และได้รับการปฏิสังขรณ์ขึ้นมาใหม่ โดยมีความแตกต่างกับพระเจดีย์ทั่วไปคือ ออกแบบให้ใต้ฐานพระเจดีย์มีโครงสร้างโปร่งให้คนเดินเข้าไปภายในได้ โดยอัญเชิญพระบรมธาตุไว้ในผอบทองคำให้ผู้คนได้เข้ามากราบไหว้มองเห็นได้ ชัดเจน ส่วนผนังใต้ฐานเจดีย์ได้นำทองคำและของมีค่าต่างๆ ที่มีพุทธศาสนิกชนชาวพม่านำมาถวายแก่องค์พระเจดีย์ มาจัดแสดงไว


พระพุทธไสยาสน์เชาตาจี ประเทศพม่า






พระพุทธไสยาสน์เชาตาจี
พระพุทธไสยาสน์เชาตาจีแห่งเมืองย่างกุ้ง พระพุทธรูปองค์นี้ มีลักษณะพิเศษคือ ที่บริเวณพระบาทมีภาพวาดรูปสรรพสิ่ง อันล้วนเป็นมิ่งมงคลสูงสุด เพราะประกอบด้วย ลายลักษณธรรมจักร ข้างละองค์ ในบริเวณใจกลางฝ่าพระบาท และล้อมด้วย รูปอัฏฐุตรสตกตมงคล 108 ประการ


ตลาดโป๊ะโยค หรือ สก๊อตมาร์เก็ต ประเทศพม่า







ตลาดโป๊ะโยค หรือ “สก๊อตมาร์เก็ต”

ซึ่งตลาดแห่งนี้ท่านสามารถเลือกซื้อของฝากญาติมิตรได้นานาชนิดเป็นต้นว่า เครื่องเงิน, เครื่องเขิน, ไม้แกะสลักพระพุทธรูปเทวรูปที่ทำด้วยไม้จันทน์, เครื่องแกะสลัก, เครื่องลงรักปิดทองต่างๆ, ถ้วยชามกังไสจีนโบราณ, โคมไฟแก้ว และแจกันเจียระไนโบราณ, นาฬิกาข้อมือเก่า, ผ้าไหมลายต่างๆ ไปจนถึงบรรดาว่านต่างๆเช่น ว่านหงสาวดี ภาพวาดสีน้ำมันรูปทิวทัศน์ของพม่า ฯลฯ





พระธาตุอินทร์แขวน ประเทศพม่า







พระธาตุอินทร์แขวน แห่งเมืองไจ้ก์ไถ่ ประเทศพม่า

พระธาตุอินทร์แขวนหรือ “ไจ้ก์ทิโย” แห่งเมืองไจ้ก์ไถ่ รัฐมอญเชื่อกันว่าพระอินทร์ได้เสด็จลงมาจากสรวงสวรรค์เพื่อนำพระบรม สารีริกธาตุของพระพุทธเจ้ามาแขวนไว้ให้ชาวบ้านได้กราบไหว้ผู้ใดได้มาสักการะ ก็เท่ากับว่าได้มาไหว้พระธาตุเกศแก้วจุฬามนตรีบนสวรรค์และจะได้สั่งสมผลบุญ อานิสงฆ์ให้ไปเกิดร่วมยุคกับพระศรีอาริยเมตไตรยและจะสามารถมองเห็นพระ บรมธาตุลอยอยู่อย่างชัดเจน พระธาตุอินทร์แขวนตั้งอยู่บนหน้าผาสูงกว่า 1,200 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง สำหรับคำว่า “โจก์ทิโย” มาจากคำว่า “ไจก์” ในภาษามอญ แปลว่า “เจดีย์” ส่วนคำว่า “ทิโย” หรือ “ติโล” แปลว่า “ฉัตร” โดยเรียกตามลักษณะของเจดีย์มอญองค์เล็กๆ มีฉัตรครอบสร้างตั้งไว้บนก้อนหินสูงถึง 5.5 เมตร เส้นรอบวงก้อนหินราว 17เมตรซึ่งมองดูคล้ายกับก้อนหินตั้งอยู่หมิ่นเหม่ไกล้จะะตกลงมาทุกทีแต่ก็ไม่ตกลงมาสักทีเป็นที่น่าอัศจรรย์ พระธาตุอินทร์แขวน
พระธาตุอินทร์แขวน ไจ้ก์ทิโย พม่าตั้ง อยู่ที่เมืองไจ้ก์โถ่ บนยอดเขา Paung Laung เหนือระดับ น้ำทะเล 3,615 ฟุต ลักษณะเด่นของพระธาตุอินทร์แขวนคือ มีลักษณะเป็นก้อนหินสีทองขนาดใหญ่ ตั้งอยู่บนหน้าผาสูงชันอย่างหมิ่นเหม่ เหมือนจะหล่นและท้าทายแรงดึงดูดของโลกโดยไม่ตกลงมาอย่างเหลือเชื่อ พระธาตุอินทร์แขวนนับเป็น 1ใน 5 มหาบูชาสถาน สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวพม่าต้องไปสักการะ และตามความเชื่อล้านนาเชื่อว่าเป็นพระธาตุประจำปีเกิดปีจอ (ปีหมา) ที่คนเกิดปีนี้ต้องไปนมัสการสักครั้งหนึ่งในชีวิต




เจดีย์ชเวซิกอง ประเทศพม่า







เจดีย์ชเวซิกอง แห่งเมืองพุกามหรือบากัน ประเทศพม่า

เจดีย์ชเวซิกองแห่งเมืองพุกามหรือบากันเป็นพระมหาเจดีย์ที่บรรจุพระทันตธาตุของพระพุทธเจ้าสร้างขึ้นโดยพระเจ้าอโนรธามหาราชพระองค์แรกของพม่า พระองค์ทรงรวบรวมชนชาติพม่าเป็นปึกแผ่นได้เป็นพระองค์แรกในอาณาจักรพุกามเมื่อ 900 ปีเศษมาแล้วภายหลังจากการทรงยกทัพไปตีมอญที่อาณาจักรสุธรรมวดี (สะเทิม) ได้แล้ว ทรงกวาดต้อนชาวมอญที่เป็นช่างฝีมือ นักปราชญ์มาที่เมืองพุกามด้วยสาเหตุนี้เองทำให้ได้รับอิทธิพลศิลปวัฒนธรรมจากมอญมาโดยไม่รู้ตัวดังเช่นรูปแบบของมหาเจดีย์ชเวชิกองที่มีรูประฆังคว่ำแบบมอญก่อนที่จะมีสกุลช่างพุกามเกิดขึ้น สำหรับคำว่า “ชเวซิกอง” แปลว่า “เจดีย์ที่ตั้งอยู่บนพื้นทราย”





พระมหานุมี ประเทศพม่า







พระมหามุนี แห่งเมืองมัณฑะเลย์ในวัดยะไข่ ประเทศพม่า

พระมหามุนี แห่งเมืองมัณฑะเลย์ในวัดยะไข่ เป็นพระพุทธรูปสำริดทรงเครื่องแบบกษัตริย์ปางมารวิชัยหนักตักกว้าง 3 เมตร เป็นที่ยอมรับกันอย่างแพร่หลายว่ามีพระพุทธลักษณะงดงามที่สุดองค์หนึ่ง“มหามุนี” แปลว่า “มหาปราชญ์” สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.688 โดยชาวยะไข่ชนกลุ่มน้อยในรัฐอาระกันทางทิศตะวันตกสุดของพม่าติดกับชายแดนบังคลาเทศต่อมาพระเจ้าปะดุงกษัติย์พม่ายกทัพไปตีเมืองยะไข่ได้จึงโปรดให้อัญเชิญพระพุทธองค์นี้มาประดิษฐานที่เมืองมัณฑะเลย์เมือ 200 ปีที่ผ่านมา เล่าเรื่องสืบต่อกันมาว่าพระพุทธเจ้าทรงประทานลมหายในให้พระมหามุนีเป็นตัวแทนสืบทอดพระพุทธศาสนา ชาวพม่าเชื่อกันว่าพระพุทธรูปองค์นี้มีลมหายใจจริงจึงต้องมีประเพณีล้างพระพักตร์ให้ทุกเช้ามืดของทุกๆวันซึ่งประเพณียังคงดำรงสอบทอดมาตราบจนถึงทุกวันนี้ตามตำนานเล่าว่า พระเจ้าจันทสุริยะ กษัตริย์ของชาวยะไข่แห่งเมืองธัญญวดี (ปัจจุบันอยู่ในรัฐยะไข่ ทางด้านตะวันตกของพม่าติดกับบังคลาเทศ) โปรดฯให้สร้างพระมหามัยมุนี ซึ่งแปลว่า “มหาปราชญ์” ขึ้นในปี พ.ศ.689 หรือเกือบสองพันปีมาแล้ว เหตุเพราะพระพุทธเจ้าเสด็จมาเข้าพระสุบินประทานพรแก่พระเจ้าจันทสุริยะ ให้สร้างพระพุทธรูปองค์นี้ขึ้นเพื่อเชิดชูพุทธศาสนาให้รุ่งเรือง แต่เนื่องจากว่ามีขนาดใหญ่จึงต้องหล่อแยกเป็นชิ้นแล้วจึงนำมาประสานกันได้สนิทจนไม่เห็นรอยต่อเป็นที่น่าอัศจรรย์ เชื่อกันว่าเป็นด้วยพรของพระศาสดาประทานไว้
ความงดงามและความศักดิ์สิทธิ์ของพระมหามุนีเลื่องลือไปไกล จึงเป็นที่หมายปองของกษัตริย์พม่านับตั้งแต่สมัยพระเจ้าอโนรธาแห่งอาณาจักร พุกาม บุเรงนองมหาราชแห่งหงสาวดี และอลองพญามหาราชแห่งรัตนปุระอังวะ ล้วนเพียรพยายามยกทัพไปชะลอพระพุทธรูปองค์นี้มาประดิษฐานเพื่อเป็นศิริมงคล แห่งดินแดนพม่าทุกยุคทุกสมัย แต่ต้องล้มเหลวครั้งแล้วครั้งเล่า เพราะความทุรกันดารของเส้นทางที่เต็มไปด้วยแม่น้ำและภูเขาสูง จนกระทั่งประสบความสำเร็จในสมัยพระเจ้าปดุง ก็สามารถนำเอาพระมหามุนีมาไว้ที่กรุงมัณฑะเลย์เมื่อปี พ.ศ.2327 ในปัจจุบันชาวพม่ายังเรียกพระมหามุนีอีกชื่อหนึ่งว่า “พระยะไข่”วัด มหามัยมุนีมีธรรมเนียมปฎิบัติเช่นเดียวกับปูชนียสถานทุกแห่งในพม่าคือไม่ อนุญาตให้สุภาพสตรีเข้าใกล้องค์พระได้เท่าสุภาพบุรุษ ซึ่งสามารถขึ้นไปปิดทองที่องค์พระได้เลย โดยทางวัดกำหนดให้เขตสตรีกราบสักการะองค์พระได้ระยะใกล้สุดราว 10 เมตร แต่สามารถซื้อแผ่นทองฝากผู้ชายขึ้นไปปิดทองแทนได้ อย่างไรก็ตาม มีกิจกรรมหนึ่งที่จะทำให้สตรีสามารถสัมผัสองค์พระได้ โดยผ่านแป้งตะนะคาที่ใช้ล้างพระพักตร์พระมหามัยมุนี โดยทุกๆเช้า ทางวัดจึงจัดพื้นที่บริเวณลานด้านหน้าองค์พระ ให้พุทธศาสนิกชนทั้งชายและหญิงช่วยกันฝนท่อนไม้ตะนะคา เพื่อให้ได้แป้งหอมจากเปลือกไม้ แล้วเอามาใส่ผอบรวมกันไว้มากๆ สำหรับนำไปผสมน้ำประพรมพระพักตร์องค์พระในตอนเช้าวันรุ่งขึ้น ด้วยเหตุแห่งความศรัทธาว่าเป็นพระพุทธรูปที่มีชีวิต จึงเป็นที่มาของธรรมเนียมการล้างพระพักตร์ให้องค์พระทุกๆรุ่งสาง เหมือนดั่งคนที่ต้องล้างหน้าแปรงฟันทุกเช้า โดยมีพระทำหน้าที่ล้างพระพักตร์พระมหามัยมุนีทุกวันตั้งแต่ราวตีสี่ครึ่ง โดยเริ่มจากประพรมพระพักตร์ด้วยน้ำผสมเครื่องหอมทำจากเปลือกไม้ “ตะนะคา” ซึ่งชาวบ้านนำมาบริจาคให้วัดทุกวัน จากนั้น ก็ใช้แปรงขนาดใหญ่ขัดสีบริเวณพระโอษฐ์ดั่งการแปรงฟันแล้วใช้ผ้าเปียกลูบไล้ เครื่องหอมดั่งการฟอกสบู่จนทั่วทั้งพระพักตร์ จึงมาถึงขั้นตอนที่สำคัญที่สุด คือการใช้ผ้าขนหนูเช็ดพระพักตร์ให้แห้งและขัดสีให้เนื้อทองสัมฤทธิ์ที่พระ พัตร์นั้นสุกปลั่งเป็นเงางามอยู่เสมอ จึงไม่ต้องสงสัยเลยว่า เหตุใดพระมหามัยมุนีจึงเป็นพระพุทธรูปที่มีพระพักตร์อิ่มเอิบเป็นประกายวาว วามอย่างที่สุดองค์




เจดีย์ซูเล ประเทศพม่า







เจดีย์ซูเล ศูนย์กลางของนครย่างกุ้ง ประเทศพม่า

หากเจดีย์ชเวดากองเป็นจิตวิญญาณของนครย่างกุ้งแล้วไซร้ เจดีย์ซูเลก็เปรียบได้กับดวงใจเพราะ เจดีย์องค์นี้เป็นศูนย์กลางของกิจกรรมทางสังคมและศาสนาของนครย่างกุ้งมานาน หลายร้อยปี อังกฤษเจ้าอาณานิคมที่เคยเข้ามาปกครองประเทศพม่าถือเอาเจดีย์ซูเหล่เป็น ศูนย์กลางของนครย่างกุ้ง อังกฤษได้สร้างถนนหนทางเป็นเส้นตารางตัดกันขึ้นในกลางศตวรรษที่ 19 ตามสไตส์วิคตอเรีย
เจดีย์ซูเหล่ได้รับการบูรณะต่อเติมขึ้นจนมีความสูง 48 เมตร ต้นกำเนิดของเจดีย์ซูเหล่มีความผูกพันแนบแน่นกับตำนานโบราณของพระเถระสองรูป ที่ทอางประเทศอินเดียส่งมาเผยแพร่พระพุทธศาสนายังเมืองตะโถ่งหลังจากการ ประชุมสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่สามแล้วเสร็จเมื่อ 230 ปีก่อนคริสกาล เจ้าเมืองตะโถ่งอนุญาตให้พระเถระทั้งสองสร้างเจดีย์สำหรับบรรจุพระเกศาธาตุ ที่อัญเชิญมาจากประเทศอินเดียขึ้นที่เชิงเขาสิงคุตตระ เจดีย์นี้เป็นที่รู้จักกันในนาม “ไจ้โต๊ก” เป็นภาษามอญแปลว่า “เจดีย์บรรจุพระเกศาธาตุ” เจดีย์ซูเลเป็นเจดีย์ทรงแปดเหลี่ยม ตั้งแต่องค์ระฆังขึ้นไปจนถึงบาตรคว่ำสะท้อนให้เห็นถึงอิทธิพลของศาสนา พราหมณ์ที่ผสมกลมกลืนกับพุทธศาสนาได้อย่างแนบแน่น การเดินชมเจดีย์
ซูเลควรเดินวนขวาเนื่องจากเป็นเจดีย์ทรงแปดเหลี่ยมจึงมีทั้งหมดแปดด้านซึ่ง ในแต่ละด้านเป็นที่สถิตของพระเคาระห์กับสัตว์ประจำวันและทิศทั้งแปดสำหรับ อาณาบริเวณทางด้านนอกมีร้านค้าเล็กๆตั้งอยู่รายล้อมของพระเจดีย์จำหน่าย สินค้านานาชนิด ส่วนภายในองค์พระเจดีย์เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปมากมายหลายสิบองค์ โดยปกติแล้วเทศกาลงานบุญจะจัดขึ้นในช่วงเย็นมีชาวพม่าที่เลื่อมใสศรัทธาเดิน ทางมากราบไหว้และบริจาคเงินทำบุญไม่ขาดสายในแต่ละวัน






เจดีย์ชเวมอดอร์ ประเทศพม่า







เจดีย์ชเวมอดอร์ แห่งเมืองหงสาวดีหรือบาโก ประเทศพม่า

เจดีย์ชเวมอดอร์ แห่งเมืองหงสาวดีหรือบาโก ชาวพม่าเรียกว่า “ไจก์มุเตาแห่งบาโก” คนไทยเรียกว่า “เจดีย์มุเตา” เป็นเจดีย์ที่บรรจุพระเกศาธาตุ 2 เส้นของพระพุทธเจ้ามีอายุเก่าแก่กว่า 2,000 ปีเป็นที่เคารพสักการะของกษัตริย์มอญ, พม่า,รวมทั้งไทย เช่น พระเจ้าราชาธิราชของมอญ พระเจ้าบุเรงนองของพม่า ตลอดจนสมเด็จพระนเรศวรมหาราชของไทย“ไจก์มุเตา” แปลว่า “เจดีย์จมูกร้อน” เพราะเจดีย์มีความสูงมากจนต้องแหงนหน้าขึ้นคอตั้งบ่าเพื่อมองไปที่ยอดของเจดีย์ทำให้จมูกร้อนเพราะแสงแดดเผามีตำนานสร้างคล้ายกับเจดีย์ชเวดากองในย่างกุ้ง ตามตำนานการสร้างเจดีย์ชเวมอเดอร์มีเรื่องเล่าสืบต่อกันมาว่ามีพ่อค้าวาณิชชาวมอญสองคนได้อัญเชิญพระเกศาธาตุของพระพุทธเจ้ามาจากประเทศอินเดีย และได้สร้างเจดีย์นี้ขึ้นเพื่อใช้เป็นที่ประดิษฐานพระเกศาธาตุของพระพุทธเจ้าเป็นที่เคารพสักการะบูชาของพระมหากษัตริย์พม่าและมอญตลอดจนพระมหากษัตริย์ไทยคือ พระนเรศวรมหาราชและได้มีการบูรณะซ่อมแซมมาด้วยกันหลายรัชกาล องค์พระเจดีย์เป็นศิลปะพม่าผสมผสานกับศิลปะมอญได้อย่างกลมกลืนพระเจดีย์ชเวมอดอร์มีความสูงถึง 377 ฟุตทั้งๆที่มีจารึกระบุความสูงเมื่อแรกสร้างเพียง 75 ฟุตเท่านั้น
เจดีย์ชะวมอดอร์ หงสาวดี บาโก พม่าซึ่ง มีความสูงกว่าพระมหาเจดีย์ชเวดากองถึง 51 ฟุต ต่อมาภายในวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2473 ได้เกิดแผ่นดินไหวขึ้นครั้งใหญ่ในประเทศพม่ายอดฉัตรบนสุดของพระเจดีย์ ชเวมอดอร์ได้หักพังทลายลงมายังความโศกเศร้าร้าวรานในให้แก่ชาวพม่าและตลอดจน พุทธศาสนิกชนที่เลื่อมในศรัทธากันถ้วนหน้าจึงได้ทำการเรี่ยไรเงินมาบูรณะ ซ่อมแซมองค์พระเจดีย์ชเวมอดอร์ขึ้นมาใหม่และสร้างให้สูงกว่าเดิมแต่ทาง รัฐบาลพม่าก็ยังคงเก็บรักษาซากเจดีย์องค์เดิมไว้ให้ชาวพม่าและชาวมอญกราบ ไหว้สักการะบูชา ณบริเววณลานกว้างใหม่ซึ่งในปัจจุบันได้กลายเป็น “จุดอธิฐานศักดิ์สิทธิ์”ขององค์พระเจดีย์โดยมีความเชื่อถือกันว่าตรงบริเวณ จุดนี้คือพระธาตุองค์จริง




เจดีย์กาบ่าเอ ประเทศพม่า







เจดีย์กาบ่าเอ ในนครย่างกุ้ง ประเทศพม่า

เจดีย์กะบ่าเอสร้างขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1950 โดยท่านอุนูอดีตนายกรัฐมนตรีคนแรกของพม่าหลังจากได้รับเอกราชจากอังกฤษ สำหรับตำนานการสร้างพระเจดีย์กะบ่าเอ มีเรื่องเล่าสืบต่อมาว่าในครั้งโบราณกาลมีพระภิกษุอยู่รูปหนึ่งนั่งสมาธิ อยู่ริมฝั่งแม่น้ำอิระวดีต่อมามีชีปะขาวผู้หนึ่งนำลำไม้ไผ่ที่มีข้อความ จารึกอยู่เต็มไปหมดมามอบให้พระภิกษุฝากไปมอบต่อท่านอุนูและบอกให้ท่านอุนู ทำนุบำรุงศาสนาพุทธให้เจริญและมั่งคงยิ่งๆขึ้นไป ท่านอุนูเป็นบุคคลที่เคร่งครัดในศาสนาพุทธพอๆกับที่ร่านรอบรู้ในเรื่องการ เมือง ท่านรับไม้ไผ่ลำนั้นไว้และปฎิบัติตามคำบอกของชีปะขาวผู้นั้นโดยการสร้างพระ เจดีย์กะบ่าเอขึ้นทางตอนเหนือของนครย่างกุ้งห่างกันประมาณ 15 กิโลเมตร เพื่อเตรียมการทำสังคายนาพระไตรปิฏกในปี ค.ศ. 1954 – 1956 และอุทิศพระเจดีย์องค์นี้เพื่อให้เกิดการสร้างสันติภาพขึ้นในโลกและในประเทศ พม่า พระเจดีย์กะบ่าเอแม้จะไม่สวยงามโดดเด่นเช่นพระเจดีย์องค์อื่นในนครย่างกุ้ง แต่พระเจดีย์กะบ่าเอก็มีความน่าสนในไม่น้อย ลักษณะของเจดีย์เป็นรูปทรงกลมมีความสูงและเส้นผ่าศูนย์กลางคือ 34 เมตร ภายในองค์พระเจดีย์บรรจุพระบรมธาตุ
พระอรหันต์สาวกองค์สำคัญสององค์ พระเจดีย์กะบ่าเอมีทางเข้าทั้งหมดห้าด้านทุกด้านมีพระพุทธรูปขนาด 2.4 เมตรประดิษฐานอยู่บนฐานทักษิณ มีพระพุทธรูปหุ้มด้วยทองคำองค์เล็กๆอีก 28 องค์ แทนอดีตสาวกของพระพุทธเจ้าทั้ง 28 องค์ที่อุบัติขึ้นในโลกนี้ ส่วนพระพุทธรูปองค์พระประธานที่อยู่ข้างในหล่อด้วยเงินบริสุทธิ์มีน้ำหนัก กว่า 500 กิโลกรัม


เทพทันใจ ประเทศพม่า







เทพทันใจ

เทพที่มีจิตใจดี จนผู้คนส่วนมากที่มากราบไหว้ขอพร ก้จะได้สมใจนึก เร็วทันใจ ที่ปรารถนา ที่ฝั่งตรงข้ามของเจดีย์ซูเลมีสวนสาธารณะมหาบัณฑุละ ภายในสวนมีอนุสาวรีย์อิสระภาพ รูปเสาแหลมสูง 40 เมตร ล้อมรอบด้วยเสาหินสูง 9 เมตร 5 ต้น แทนรัฐที่ปกครองตนเองกึ่งอิสระ 5 รัฐ คือ ฉาน กะฉิ่น กะยิน(กะเหรี่ยง) กะยา และชิน พม่า


ทะเลสาบอินเล ประเทศพม่า







ทะเลสาบอินเล (Inle Lake)

ทะเลสาบแห่งนี้อยู่ท่ามกลางหุบเขาที่สวยงามของรัฐฉาน อยู่ห่างจากเมืองตองยีประมาณ 25 กิโลเมตร เหมาะแก่การมาเที่ยวชมเพื่อกาศึกษาถึงชีวิตความเป็นอยู่ของชาวพม่าที่เรียกได้ว่ากลมกลืนกับธรรมชาติเป็นอย่างยิ่ง ทะเลสาบแห่งนี้เป็นที่อยู่อาศัยของกลุ่มชนที่เรียกตนเองว่า ชาวอินทา (Intha) ชนเผ่านี้อาศัยอยู่ในทะเลสาบอินเลมานานนับร้อยปีแล้ว โดยใช้ชีวิตอยู่ท่ามกลางการทำการเกษตรบนเกาะวัชพืชที่พวกเขาสร้างขึ้นมาเองกลางลำน้ำในทะเลสาบ


สะพานอูเบ็ง ประเทศพม่า






สะพานอูเบ็ง : สะพานไม้สักที่ยาวที่สุดในโลก


เป็นสะพานที่ยาวถึง 2 กิโลเมตร ทอดข้ามทะเลสาบตองตะมาน ทางตอนใต้ของเมืองอมรปุระ มุ่งตรงไปสู่เจดีย์เจ๊าต่อจี อยู่อีกฟากหนึ่งของทะเลสาบ พระเจ้าปุดงโปรดฯให้ขุนนางนามว่า “อูเบ็ง” เป็นแม่กองงานสร้างสะพานแห่งนี้ โดยใช้ไม้สักที่รื้อจากพระราชวังเก่าแห่งกรุงอังวะจำนวน 1,208 ต้น







 

No comments:

Post a Comment